ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2012

กล้วยไม้สกุลกุหลาบ

กุหลาบอินทจักร (Aerides flabellata) ลักษณะใบเรียงตัวซ้อนกันค่อนข้างแน่น แผ่นใบหนาและเหนียว ผิวใบแห้ง กุหลาบอินทจักรเป็นเอื้องกุหลาบช่อตั้ง ดอกในช่อโปร่ง มีเดืือยดอกยาวเห็นได้ชัดและโค้งงอนสวยงาม กลีบเลี้ยง และกลีบดอกมีสีเขียวอมเหลืองและมีแต้มสีน้ำตาลอมม่วง ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม กุหลาบพวงชมพู (Aerides krabiensis) หรือกุหลาบกระบี่ พบครั้งแรกที่จังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง รวมไปถึงเกาะต่างๆ ทางภาคใต้ของไทย ต้นค่อนข้างผอมมักแตกเป็นกอ แผ่นใบเล็กค่อนข้างหนาและเรียงซ้อนกันถี่ ผิวใบมักจะมีจุดประสีม่วงแดง ช่อปลายปากกว้างมน ดอกมีพื้นขาว มีจุดประสีม่วงแดง หรือชมพูเข้ม กลางแผ่นปากมีสีแดงเข้มคล้ายกุหลาบมาลัยแดง ออกดอกระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม กุหลาบเอราวัณหรือกุหลาบน่าน (Aerides rosea ชื่อพ้อง Aerides fieldingii) ลักษณะดอกคล้ายมาลัยแดงมาก ช่อดอกมีก้านส่งแข็ง แต่ส่วนช่อที่ติดดอกจะโค้งห้อยลง กลีบดอกสีขาว มีแต้มสีม่วงแดง ที่ปลายกลีบมีจุดสีม่วงแดงประปราย ปากสีม่วงแดง ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน กุหลาบแดง (Aerides crassifolia) เป็นกล้วยไม้ที่มีลักษณะสวยงาม มีใบสั้นแบนแต่หนา

กล้วยไม้พันธ์เหม็นหายาก

ขี้หมา หมาเน่า เนื้อเน่า แมลงตาย กลิ่นน่ะถูกแต่ตัวนะไม่ใช่ มันคือกล้วยไม้พันธุ์หนึ่ง หา หอมหึ่งถึงขนาดคนปลูกต้องเอาผ้าปิดปากจมูกเชียวเหรอ นีแหละกล้วยไม้พันธุ์ใหม่ดูภายนอกเป็นยังไง เห็นไม่ชัดใช่ไหม ได้เลย จ๊ะเอ๋ ชัดขึ้นใช่ไหมล่ะ หนูขอแนะนำตัวก่อนว่าไม่ใช่ไอ้เน่าเน่าที่กล่าวมานะ หนู้เป็นกล้วยไม้พันธุ์หายากแพงด้วยล่ะ 30,000 บาทแน่ะ หายากเชียวนะเพราะเป็นกล้วยไม้ขึ้นเฉพาะท้องถิ่น ใครอยากรู้บ้างยกมือ ยังยัง เอามืออุดจมูกอีกเดี๋ยวไม่เล่าซะเลยจริงๆหนูชื่อกล้วยไม้ สิงโต ฟาแลนนอฟซิส (Bulbophyllum Phalaenopsis) กล้วยไม้ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสิงโตฟาแลนนอฟซิสนั้นมีอีก 2 ชนิด Bulbophyllum Spiesii และ Bulbophyllum เพราะไหมล่ะ อยากเลี้ยงหนูบ้างไหม คิดดีดีก่อนนะคนเลี้ยงหนูข้างบนยังปิดขนาดนั้น ไม่ได้อยากเกิดเป็นอย่างนี้นนี่นา เห็นอย่างเนี้ยใหญ่โตนะจะบอกให้ จะหาทีต้องไปไกลเพราะพบเฉพาะบนเกาะปาปัวนิวกีนี เป็นกล้วยไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก  สามารถมีขนาดใหญ่ได้ 100 - 150 เซนติเมตร กว้างได้กว่า 1 ฟุต ขนาดของลำลูกกล้วยประมาณ 5 -6 นิ้ว  ดอกกล้วยไม้นี้จะออกดอกด้วยการแทงช่อออกตาบริเวณโคนต้นเป็นช่อแบบรวงข้าวซึ่

สกุลเอื้องน้ำต้น

เอื้องน้ำต้น เป็นกล้วยไม้ดินขนาดเล็ก ลำลูกกล้วยเป็นรูปน้ำเต้าทรงแคบ ใบแบนแผ่รูปรี จะทิ้งใบเมื่อผลิดอก ดอกออกเป็นช่อตั้งจากโคนกอ ดอกย่อยบานจากโคนช่อไปหาส่วนปลาย กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีชมพูเข้ม และเปลี่ยนเป็นสีส้มเมื่อใกล้โรยหรือสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน

กล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตา

กล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตาเป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ พบตามธรรมชาติประมาณ 1,000 ชนิด มากเป็นอันดับสองรองจากกล้วยไม้สกุลหวาย พบกระจายพันธุ์แถบทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเชีย แถบแปซิฟิก เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หมู่แกะแปซิฟิก และบางส่วนกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปแอฟริกา สำหรับประเทศไทยพบกระจัดกระจายตามธรรมชาติในทั่วทุกภาคของประเทศประมาณ 140 ชนิด และแต่ละชนิดมักใช้คำว่า "สิงโต" นำหน้า กล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าสกุล "บัลโบฟิลลัม" (Bulbophyllum) ซึ่งมาจากรากศัพท์ในภาษากรีซคือ bulbos แปลว่า "หัว" กับ phyllon แปลว่า "ใบ" หมาถึงลักษณะที่ก้านใบพองคล้ายหัว สำหรับในภาษาไทยที่เรียกกันว่า "สิงโตกลอกตา" นั้น เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิตได้ทรงเรียบเรียงไว้ในหนังสือ "ตำราเล่นกล้วยไม้" เมื่อปี พ.ศ.2459 เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของกล้วยไม้สกุลเซอร์โรเพตาลัม (Cirrhopetalum) ซึ่งเป็นสกุลที่มีลักษณะใกล้เคียงกับสกุลบัลโบฟิลลัมมาก และในปัจจุบันนี้นักพฤกษศาสตร์ได้จัดรวมไว้ในสกุลบัลโบฟิลลัม ดังนี้ ลูกกล้วยรูปกลม

กล้วยไม้สกุลแคทรียา

คัทลียา                           :             Cattleya                                            ชื่อวิทยาศาสตร์            :             Cattleya hybrids.                                       วงค์                              :             ORCHIDACEAE                                       ชื่ออื่น                            :             ราชินีกล้วยไม้           สกุลแคทลยา  (cattleya)           เป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ชื่อกล้วยไม้สกุลแคทลียาได้มาจากชื่อสกุลของนักพฤกษศาสตร์ชื่อ william cattley แคทลียาเป็นกล้วยไม้ที่ชอบขึ้นอยู่ในที่ชุ่มชื้น ร่มเย็น มีแสงแดดบ้างเล็กน้อยหรือที่เรียกว่าแสงแดดรำไร แต่ไม่ทนต่อความแห้งแล้ง ร้อนและแสงแดดจัด แคทลียาเป็นกล้วยไม้ประเภทแตกกอ มีระบบรากเป็นแบบรากกึ่งอากาศ บางชนิดลำลูกกล้วยอ้วนป้อม หัวท้ายเรียว บางชนิดเป็นรูปทรงกระบอกหรืบิดเป็นเกลียวเล็กน้อย ใบส่วนมากจะมีลักษณะแบน แต่มีบางชนิดใบกลมรูปทรงกระกอก ใบที่เจริญเต็มที่จะมีลักษณะหนาและแข็ง ใบอาจมีหรือไม่มีกาบ เหง้าอาจจะมีทั้งสั้นและยาว รากของแคทลียาไม่มีรากแขนง ดอกเกิดที่ป

สกุลแมลงปอ (Arachnis)

สกุลแมลงปอ (Arachnis)         กล้วยไม้สกุลแมลงปอจะมีข้อปล้องยาว ต้นกลม แข็ง ยาว บางชนิดอาจสูงได้กว่า 1 เมตร ใบเรียงสลับอยู่กันห่างๆ ช่อดอกมีทั้งชนิดที่เป็นช่อดอกตั้งและช่อห้อย บางชนิดช่อดอกยังแตกแขนงได้อีก กลีบดอกทั้งกลีบชั้นนอกและชั้นในมีขนาดและลักษณะคล้ายกัน ที่โคนกลีบดอกเล็กแคบ แต่ปลายกลีบขยายใหญ่ออกและโค้งเล็กน้อย ปากเล็กติดกับฐานเส้าเกสร ปากมีเดือยสั้นๆ ชี้ไปทางข้างหลัง ปลายปากหนาและมีสันกลางปาก เส้าเกสรใหญ่แต่สั้น มีเรณู 4 ก้อน แบ่งเป็น 2 คู่           สกุลแมลงปอในธรรมชาติพบแล้วประมาณ 15 ชนิด พบทั่วไปในพม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย กล้วยไม้สกุลแมลงปอที่สำคัญ ได้แก่ ฮุกเกอเรียนา (Arachnis hookeriana) และแมลงปอลาย (Arachnis flos-aeris)     กล้วยไม้ลูกผสมของสกุลแมลงปอที่นิยมปลูกกัน ได้แก่ - แมกกี วี (Arachnis Maggie Oei) ลูกผสมระหว่างแมลงปอฮุกเกอเรียนาบแมลงปอลาย - อิชเบล (Arachnis Ishbel) ลูกผสมระหว่างแมลงปอเมงกายี (Arachnis Maingayi) กับแมลงปอฮุกเกอเรียนา   Arachnis  Maggie Oei       Arachnis  Maggie Oei "Red Ribbon" (Photo ref. from Internet) Arachni

กล้วยไม้สกุลอะแคมเป (Acampe)

ลักษณะของ กล้วยไม้สกุลอะแคมเป (Acampe) ผู้เขียน ได้ทำการสรุป ลักษณะขอ งกล้วยไม้สกุลอะแคมเป (Acampe) ไว้ดังนี้คือ 1.มีการเจริญแบบไม่แตกกอ 2.มีลำต้นอ้วนล่ำใบใหญ่หนา ใบยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้าง 3.5 เซนติเมตร ปลายใบกว้าง มีหยักเป็น 2 แฉกไม่เท่ากัน 3.ช่อดอกตั้งและมักมีแขนงช่อสั้นๆ 1-2 แขนง ดอกเบียดชิดกันอยู่ปลายช่อ เมื่อดอกบานเต็มที่มองดูคล้ายกับดอกเพียงแย้ม และแหงนหน้าขึ้นข้างบน ดอกมีสีเหลืองอมเขียว และมีลายขวางสีแดงเป็นระยะๆ กลีบดอกหนาแต่ดอกโตเพียง 1 เซนติเมตรเศษๆ เท่านั้น ดอกมีลักษณะคล้ายสกุลเสือโคร่งมาก แต่ไม่มีลิ้นหรืออวัยวะอื่นใดอยู่ด้านหลังของปาก ดอกมักจะหงายขึ้นข้างบน ถ้าถือช่อดอกไว้ที่ระดับตา จะเป็นเพียงด้านข้างของดอก หากถือต่ำๆ แล้วก้มมองจึงจะเห็นกลีบเป็นปากได้ชัดเจน 4.ที่พบในป่าธรรมชาติมีเพียง 4-5 ชนิดเท่านั้น แต่ที่รู้จักกันดี คือ ลองกิฟอเลีย ที่มีชื่อภาษาไทยว่าเอื้องสารภี ช้างสารภี เอื้องตีนเต่า และเอื้องดอกมะขาม (ภาพจากหนังสือ กล้วยไม้เมืองไทย ของ รศ.ดร.อบฉันท์ ไทยทอง) ชยพร แอคะรัจน์

กล้วยไม้สกุลหวาย

สวนกล้วยไม้ข้างบ้าน  กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่สุด มีการแพร่กระจายพันธุ์ออกไปในบริเวณกว้างทั้งในทวีปเอเชียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกออกเป็นหมู่ประมาณ 20 หมู่ และรวบรวมกล้วยไม้ชนิดนี้ที่ค้นพบแล้วได้ประมาณ 1,000 ชนิดพันธุ์           กล้วยไม้สกุลหวาย มีลักษณะการเจริญเติบโตแบบซิมโพเดียล คือ มีลำลูกกล้วย เมื่อลำต้นเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะแตกหน่อเป็นลำต้นใหม่และเป็นกอ ใบแข็งหนาสีเขียว ดอกมีลักษณะทั่วไปของกลีบชั้นนอกคู่บนและคู่ล่างขนาดยาวพอๆ กันโดยกลีบชั้นนอกบนจะอยู่อย่างอิสระเดี่ยวๆ ส่วนกลีบชั้นนอกคู่ล่างจะมีส่วนโคน ซึ่งมีลักษณะยื่นออกไปทางด้านหลังของส่วนล่างของดอกประสานเชื่อมติดกับฐานหรือสันหลังของเส้าเกสร และส่วนโคนของกลีบชั้นนอกคู่ล่างและส่วนฐานของเส้าเกสรซึ่งประกอบกันจะปูดออกมา มีลักษณะคล้ายเดือยที่เรียกว่า “เดือยดอก” สำหรับกลีบชั้นในทั้งสองกลีบมีลักษณะต่างๆ กันแล้วแต่ชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้นั้นๆ           กล้วยไม้หวายป่าของไทยมีสีสวยงาม ก้านช่อสั้น สำหรับกล้วยไม้สกุลหวายที่เป็นกล้วยไม้อยู่ในป่าของไทย มีหลายชนิดอันได้แก่พวก “เอื้อง” ต่างๆ

สกุลกล้วยไม้

ในประเทศไทย นอกจากกล้วยไม้ชนิดพันธุ์ตามที่พบในธรรมชาติอย่างมากมายแล้ว ยังมีพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ มีความแปลก สวยงามเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ใหม่นี้ จะมีจำนวนมาก และไม่มีขีดจำกัด ทำให้กล้วยไม้ของไทยเป็นที่รู้จัก เป็นที่สนใจ และชื่นชอบต่อคนทั่วไป กล้วยไม้สกุลต่างๆ ที่พบในประเทศไทยได้แก่ สกุลอะแคมเป ( Acampe ) [1] สกุลกุหลาบ  ( Aerides ) สกุลแมลงปอ ( Arachnis ) [1] สกุลเข็ม  ( Ascocentrum ) สกุลสิงโตกลอกตา  ( Bulbophyllum ) สกุลเอื้องน้ำต้น หรือคาแลนเธ ( Calanthe ) สกุลคัทลียา  ( Cattleya & allied genera ) ประกอบด้วยสกุลย่อย 8 สกุลคือ บราสซาโวลา ( Brassavola ) บรอว์กโทเนีย ( Broughtonia ) คัทลียา ( Cattleya ) ไดอาคริอัม ( Diacrium ) อีปิเดนดรัม ( Epidendrum ) ลีเลีย ( Laelia ) ซอมเบอร์เกีย ( Schomburgkia ) โซโพรนิติส ( Sophronitis ) สกุลเอื้องใบหมาก หรือซีโลจิเน ( Coelogyne ) สกุลกะเรกะร่อน หรือซิมบิเดียม ( Cymbidlium ) สกุลหวาย  ( Dendrobium ) สกุลม้าวิ่ง  ( Doritis ) สกุลเพชรหึง หรือแกรมมาโตฟิลลัม ( Grammatophyllum ) สกุลลิ้นมังกร หรือฮาบีนาเรีย