ลักษณะของกล้วยไม้สกุลอะแคมเป (Acampe)
ผู้เขียน ได้ทำการสรุป ลักษณะของกล้วยไม้สกุลอะแคมเป (Acampe) ไว้ดังนี้คือ
1.มีการเจริญแบบไม่แตกกอ
2.มีลำต้นอ้วนล่ำใบใหญ่หนา ใบยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้าง 3.5 เซนติเมตร ปลายใบกว้าง มีหยักเป็น 2 แฉกไม่เท่ากัน
3.ช่อดอกตั้งและมักมีแขนงช่อสั้นๆ 1-2 แขนง ดอกเบียดชิดกันอยู่ปลายช่อ เมื่อดอกบานเต็มที่มองดูคล้ายกับดอกเพียงแย้ม และแหงนหน้าขึ้นข้างบน ดอกมีสีเหลืองอมเขียว และมีลายขวางสีแดงเป็นระยะๆ กลีบดอกหนาแต่ดอกโตเพียง 1 เซนติเมตรเศษๆ เท่านั้น ดอกมีลักษณะคล้ายสกุลเสือโคร่งมาก แต่ไม่มีลิ้นหรืออวัยวะอื่นใดอยู่ด้านหลังของปาก ดอกมักจะหงายขึ้นข้างบน ถ้าถือช่อดอกไว้ที่ระดับตา จะเป็นเพียงด้านข้างของดอก หากถือต่ำๆ แล้วก้มมองจึงจะเห็นกลีบเป็นปากได้ชัดเจน
4.ที่พบในป่าธรรมชาติมีเพียง 4-5 ชนิดเท่านั้น แต่ที่รู้จักกันดี คือ ลองกิฟอเลีย ที่มีชื่อภาษาไทยว่าเอื้องสารภี ช้างสารภี เอื้องตีนเต่า และเอื้องดอกมะขาม
(ภาพจากหนังสือ กล้วยไม้เมืองไทย ของ รศ.ดร.อบฉันท์ ไทยทอง)
ชยพร แอคะรัจน์
ผู้เขียน ได้ทำการสรุป ลักษณะของกล้วยไม้สกุลอะแคมเป (Acampe) ไว้ดังนี้คือ
1.มีการเจริญแบบไม่แตกกอ
2.มีลำต้นอ้วนล่ำใบใหญ่หนา ใบยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้าง 3.5 เซนติเมตร ปลายใบกว้าง มีหยักเป็น 2 แฉกไม่เท่ากัน
3.ช่อดอกตั้งและมักมีแขนงช่อสั้นๆ 1-2 แขนง ดอกเบียดชิดกันอยู่ปลายช่อ เมื่อดอกบานเต็มที่มองดูคล้ายกับดอกเพียงแย้ม และแหงนหน้าขึ้นข้างบน ดอกมีสีเหลืองอมเขียว และมีลายขวางสีแดงเป็นระยะๆ กลีบดอกหนาแต่ดอกโตเพียง 1 เซนติเมตรเศษๆ เท่านั้น ดอกมีลักษณะคล้ายสกุลเสือโคร่งมาก แต่ไม่มีลิ้นหรืออวัยวะอื่นใดอยู่ด้านหลังของปาก ดอกมักจะหงายขึ้นข้างบน ถ้าถือช่อดอกไว้ที่ระดับตา จะเป็นเพียงด้านข้างของดอก หากถือต่ำๆ แล้วก้มมองจึงจะเห็นกลีบเป็นปากได้ชัดเจน
4.ที่พบในป่าธรรมชาติมีเพียง 4-5 ชนิดเท่านั้น แต่ที่รู้จักกันดี คือ ลองกิฟอเลีย ที่มีชื่อภาษาไทยว่าเอื้องสารภี ช้างสารภี เอื้องตีนเต่า และเอื้องดอกมะขาม
(ภาพจากหนังสือ กล้วยไม้เมืองไทย ของ รศ.ดร.อบฉันท์ ไทยทอง)
ชยพร แอคะรัจน์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น