ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สกุลแมลงปอ (Arachnis)


สกุลแมลงปอ (Arachnis)
   
 กล้วยไม้สกุลแมลงปอจะมีข้อปล้องยาว ต้นกลม แข็ง ยาว บางชนิดอาจสูงได้กว่า 1 เมตร ใบเรียงสลับอยู่กันห่างๆ ช่อดอกมีทั้งชนิดที่เป็นช่อดอกตั้งและช่อห้อย บางชนิดช่อดอกยังแตกแขนงได้อีก กลีบดอกทั้งกลีบชั้นนอกและชั้นในมีขนาดและลักษณะคล้ายกัน ที่โคนกลีบดอกเล็กแคบ แต่ปลายกลีบขยายใหญ่ออกและโค้งเล็กน้อย ปากเล็กติดกับฐานเส้าเกสร ปากมีเดือยสั้นๆ ชี้ไปทางข้างหลัง ปลายปากหนาและมีสันกลางปาก เส้าเกสรใหญ่แต่สั้น มีเรณู 4 ก้อน แบ่งเป็น 2 คู่ 
   
 สกุลแมลงปอในธรรมชาติพบแล้วประมาณ 15 ชนิด พบทั่วไปในพม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย กล้วยไม้สกุลแมลงปอที่สำคัญ ได้แก่ ฮุกเกอเรียนา (Arachnis hookeriana) และแมลงปอลาย (Arachnis flos-aeris) 
 กล้วยไม้ลูกผสมของสกุลแมลงปอที่นิยมปลูกกัน ได้แก่
- แมกกี วี (Arachnis Maggie Oei) ลูกผสมระหว่างแมลงปอฮุกเกอเรียนาบแมลงปอลาย
- อิชเบล (Arachnis Ishbel) ลูกผสมระหว่างแมลงปอเมงกายี (Arachnis Maingayi) กับแมลงปอฮุกเกอเรียนา
 

Arachnis Maggie Oei
Arachnis Maggie Oei
   
Arachnis Maggie Oei
Arachnis Maggie Oei "Red Ribbon"
(Photo ref. from Internet)
Arachnis Maggie Oei
Arachnis Maggie Oei "Yellow Ribbon"
(Photo ref. from Internet)
Arachnis flos-aeris
Arachnis flos-aeris
   
 
         นอกจากนี้แมลงปอยังสามารถผสมข้ามสกุลได้อีก เช่น ผสมกับแวนด้าได้ลูกผสมสกุลอะแรนด้า (Aranda) ผสมกับสกุลแอสโคเซนดา ได้เป็นสกุลมอคคารา (Mokara) ผสมกับสกุลรีแนนเธอราได้อะแรนเธอรา (Aranthera) ผสมกับกุหลาบได้ แอริแดคนิส (Aeridachnis) เป็นต้น ตัวอย่างกล้วยไม้ลูกผสมสกุลแมลงปอที่ผสมข้ามสกุล เช่น
- แมลงปอฮุกเกอเรียนากับแวนด้า รอธไชล์เดียนา ได้ อะแรนด้า เวนดี สก็อต (Aranda Wendy Scott)
- แมลงปอฮุกเกอเรียนากับแวนด้าฮีโล บลู ได้ อะแรนด้า คริสติน (Aranda Christine)
- แมลงปอฮุกเกอเรียนากับรีแนนเธอรา สตอริไอ ได้ อะแรนเธอรา เจมส์ สตอรี (Aranthera James Storie)
- แมลงปอฮุกเกอเรียนากับเอื้องกุหลาบกระเป๋าปิดได้ แอริแดคนิส โบกอร์ (Aeridachnis Bogor)
 
Aranda Salaya Red
Aranda Salaya Red
(Photo ref. from Internet)
Aranda Christine
Aranda Christine
(Photo ref. from Internet)
Aranda Chao Phraya Beauty
Aranda Chao Phraya Beauty
(Photo ref. from Internet)
Aranthera Akihito
Aranthera Akihito
(Photo ref. from Internet)
Aranthera Ruben McKenzie
Aranthera Ruben McKenzie
(Photo ref. from Internet)
Aranthera Bartha Braga
Aranthera Bartha Braga
(Photo ref. from Internet)
 
        การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้สกุลแมลงปอ เหมาะกับการปลูกลงแปลงกลางแจ้ง แต่ถ้าเป็นลูกผสมของแมลงปอ เช่น อะแรนด้าและมอคคารา ควรมีการพรางแสงให้บ้างประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ ปลูกลงแปลงได้สามารถงอกงามได้ดีเช่นกัน แต่ต้องระวังเรื่องโรคเน่า หรือจะปลูกโดยใส่กระถางใช้ถ่านเป็นเครื่องปลูก แล้ววางตั้งบนโต๊ะก็สามารถทำได้เช่นกัน เทคนิคการเลี้ยงกล้วยไม้สกุลแมลงปอและลูกผสมสกุลแมลงปอให้ออกดอก ต้องเลี้ยงให้โดนแดดจนใบเป็นสีเขียวอมเหลือง แต่ถ้าจะเลี้ยงเพื่อเร่งตัดยอดขยายพันธุ์ให้เลี้ยงในที่ค่อนข้างร่มจนใบออกเป็นสีเขียวสด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กล้วยไม้สกุลแคทรียา

คัทลียา                           :             Cattleya                                            ชื่อวิทยาศาสตร์            :             Cattleya hybrids.                                       วงค์                     ...

สกุลกล้วยไม้

ในประเทศไทย นอกจากกล้วยไม้ชนิดพันธุ์ตามที่พบในธรรมชาติอย่างมากมายแล้ว ยังมีพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ มีความแปลก สวยงามเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ใหม่นี้ จะมีจำนวนมาก และไม่มีขีดจำกัด ทำให้กล้วยไม้ของไทยเป็นที่รู้จัก เป็นที่สนใจ และชื่นชอบต่อคนทั่วไป กล้วยไม้สกุลต่างๆ ที่พบในประเทศไทยได้แก่ สกุลอะแคมเป ( Acampe ) [1] สกุลกุหลาบ  ( Aerides ) สกุลแมลงปอ ( Arachnis ) [1] สกุลเข็ม  ( Ascocentrum ) สกุลสิงโตกลอกตา  ( Bulbophyllum ) สกุลเอื้องน้ำต้น หรือคาแลนเธ ( Calanthe ) สกุลคัทลียา  ( Cattleya & allied genera ) ประกอบด้วยสกุลย่อย 8 สกุลคือ บราสซาโวลา ( Brassavola ) บรอว์กโทเนีย ( Broughtonia ) คัทลียา ( Cattleya ) ไดอาคริอัม ( Diacrium ) อีปิเดนดรัม ( Epidendrum ) ลีเลีย ( Laelia ) ซอมเบอร์เกีย ( Schomburgkia ) โซโพรนิติส ( Sophronitis ) สกุลเอื้องใบหมาก หรือซีโลจิเน ( Coelogyne ) สกุลกะเรกะร่อน หรือซิมบิเดียม ( Cymbidlium ) สกุลหวาย  ( Dendrobium ) สกุลม้าวิ่ง  ( Doritis ) สกุลเพชรหึง หรือแกรมมาโตฟิลลัม ( Grammatophyllum )...

กล้วยไม้สกุลกุหลาบ

กุหลาบอินทจักร (Aerides flabellata) ลักษณะใบเรียงตัวซ้อนกันค่อนข้างแน่น แผ่นใบหนาและเหนียว ผิวใบแห้ง กุหลาบอินทจักรเป็นเอื้องกุหลาบช่อตั้ง ดอกในช่อโปร่ง มีเดืือยดอกยาวเห็นได้ชัดและโค้งงอนสวยงาม กลีบเลี้ยง และกลีบดอกมีสีเขียวอมเหลืองและมีแต้มสีน้ำตาลอมม่วง ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม กุหลาบพวงชมพู (Aerides krabiensis) หรือกุหลาบกระบี่ พบครั้งแรกที่จังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง รวมไปถึงเกาะต่างๆ ทางภาคใต้ของไทย ต้นค่อนข้างผอมมักแตกเป็นกอ แผ่นใบเล็กค่อนข้างหนาและเรียงซ้อนกันถี่ ผิวใบมักจะมีจุดประสีม่วงแดง ช่อปลายปากกว้างมน ดอกมีพื้นขาว มีจุดประสีม่วงแดง หรือชมพูเข้ม กลางแผ่นปากมีสีแดงเข้มคล้ายกุหลาบมาลัยแดง ออกดอกระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม กุหลาบเอราวัณหรือกุหลาบน่าน (Aerides rosea ชื่อพ้อง Aerides fieldingii) ลักษณะดอกคล้ายมาลัยแดงมาก ช่อดอกมีก้านส่งแข็ง แต่ส่วนช่อที่ติดดอกจะโค้งห้อยลง กลีบดอกสีขาว มีแต้มสีม่วงแดง ที่ปลายกลีบมีจุดสีม่วงแดงประปราย ปากสีม่วงแดง ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน กุหลาบแดง (Aerides crassifolia) เป็นกล้วยไม้ที่มีลักษณะสวยงาม มีใบสั้นแบนแต่หนา ...