ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประวัติการปลูก


การที่มีชาวตะวันตกนำกล้วยไม้จากแหล่งอื่นมาปลูกในกรุงเทพฯ จึงเป็นจุดเด่นซึ่งทำให้หลายคนนำเอามาใช้เป็นข้อมูลเพื่อเริ่มต้นการปลูกกล้วยไม้ภายในประเทศ โดยอ้างชื่อ นายเฮนรี่ อาลาบาสเตอร์ (Mr.Henry Alabaster) ร่วมกับกลุ่มบุคคลในราชวงศ์ระดับสูง ดังจะพบได้จากข้อเขียนในอดีต แทนที่จะลงถึงชาวบ้านซึ่งเป็นคนระดับพื้นดินที่นำเอากล้วยไม้พันธุ์ท้องถิ่นมาปลูก...ดังเช่นผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้เรื่องกล้วยไม้ที่มีอายุยาวนานพอสมควร คงจะจำได้ว่า ย้อนหลังไปประมาณ 40 ปีขณะที่ตลาดนัดต้นไม้ยังอยู่บริเวณริมคลองหลอด มีชาวบ้านเก็บกล้วยไม้บางชนิดจากป่านำมามัดกำวางขายทั่วไปและมีคนจีนมาซื้อไปต้มทำยาดื่ม ที่พบเห็นมากๆ ได้แก่ กล้วยไม้หวายพื้นบ้านเช่น เอื้องเก๊ากิ่ว เอื้องเงิน เอื้องผึ้ง และเอื้องคำเป็นต้น ช่วงหลังๆป่าเริ่มหมดไป ทำให้กล้วยไม้พวกนี้หมดตามไปด้วย แต่ปัจจุบันนี้คนจีนบนแผ่นดินใหญ่ของประเทศจีน ยังมีการลำเลียงกล้วยไม้จากธรรมชาติในประเทศเวียดนามและบริเวณใกล้เคียงโดยรถบรรทุก นำเข้าไปในประเทศ เพื่อใช้ทำยาอย่างต่อเนื่องกัน
ศาสตราจารย์ระพี สาคริกเคยรับฟังรายงานการค้นคว้าจากที่ประชุมวิชาการในต่างประเทศ ทราบว่าฝรั่งได้มีผลงานการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับพืชสมุนไพรจากกล้วยไม้ จากที่ประชุมวิชาการที่เมืองดาร์วิน ประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น
หลังจากนั้นมา กล้วยไม้ก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อยกย่องคนมีเงินและชนชั้นสูง ประกอบกับรากฐานคนส่วนใหญ่ยึดติดอยู่กับรูปวัตถุ ทำให้มีการมองคนในกลุ่มที่นำกล้วยไม้มาปลูกแล้วรู้สึกว่า เป็นการทำลายเศรษฐกิจ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กล้วยไม้สกุลแคทรียา

คัทลียา                           :             Cattleya                                            ชื่อวิทยาศาสตร์            :             Cattleya hybrids.                                       วงค์                     ...

สกุลกล้วยไม้

ในประเทศไทย นอกจากกล้วยไม้ชนิดพันธุ์ตามที่พบในธรรมชาติอย่างมากมายแล้ว ยังมีพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ มีความแปลก สวยงามเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ใหม่นี้ จะมีจำนวนมาก และไม่มีขีดจำกัด ทำให้กล้วยไม้ของไทยเป็นที่รู้จัก เป็นที่สนใจ และชื่นชอบต่อคนทั่วไป กล้วยไม้สกุลต่างๆ ที่พบในประเทศไทยได้แก่ สกุลอะแคมเป ( Acampe ) [1] สกุลกุหลาบ  ( Aerides ) สกุลแมลงปอ ( Arachnis ) [1] สกุลเข็ม  ( Ascocentrum ) สกุลสิงโตกลอกตา  ( Bulbophyllum ) สกุลเอื้องน้ำต้น หรือคาแลนเธ ( Calanthe ) สกุลคัทลียา  ( Cattleya & allied genera ) ประกอบด้วยสกุลย่อย 8 สกุลคือ บราสซาโวลา ( Brassavola ) บรอว์กโทเนีย ( Broughtonia ) คัทลียา ( Cattleya ) ไดอาคริอัม ( Diacrium ) อีปิเดนดรัม ( Epidendrum ) ลีเลีย ( Laelia ) ซอมเบอร์เกีย ( Schomburgkia ) โซโพรนิติส ( Sophronitis ) สกุลเอื้องใบหมาก หรือซีโลจิเน ( Coelogyne ) สกุลกะเรกะร่อน หรือซิมบิเดียม ( Cymbidlium ) สกุลหวาย  ( Dendrobium ) สกุลม้าวิ่ง  ( Doritis ) สกุลเพชรหึง หรือแกรมมาโตฟิลลัม ( Grammatophyllum )...

กล้วยไม้สกุลกุหลาบ

กุหลาบอินทจักร (Aerides flabellata) ลักษณะใบเรียงตัวซ้อนกันค่อนข้างแน่น แผ่นใบหนาและเหนียว ผิวใบแห้ง กุหลาบอินทจักรเป็นเอื้องกุหลาบช่อตั้ง ดอกในช่อโปร่ง มีเดืือยดอกยาวเห็นได้ชัดและโค้งงอนสวยงาม กลีบเลี้ยง และกลีบดอกมีสีเขียวอมเหลืองและมีแต้มสีน้ำตาลอมม่วง ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม กุหลาบพวงชมพู (Aerides krabiensis) หรือกุหลาบกระบี่ พบครั้งแรกที่จังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง รวมไปถึงเกาะต่างๆ ทางภาคใต้ของไทย ต้นค่อนข้างผอมมักแตกเป็นกอ แผ่นใบเล็กค่อนข้างหนาและเรียงซ้อนกันถี่ ผิวใบมักจะมีจุดประสีม่วงแดง ช่อปลายปากกว้างมน ดอกมีพื้นขาว มีจุดประสีม่วงแดง หรือชมพูเข้ม กลางแผ่นปากมีสีแดงเข้มคล้ายกุหลาบมาลัยแดง ออกดอกระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม กุหลาบเอราวัณหรือกุหลาบน่าน (Aerides rosea ชื่อพ้อง Aerides fieldingii) ลักษณะดอกคล้ายมาลัยแดงมาก ช่อดอกมีก้านส่งแข็ง แต่ส่วนช่อที่ติดดอกจะโค้งห้อยลง กลีบดอกสีขาว มีแต้มสีม่วงแดง ที่ปลายกลีบมีจุดสีม่วงแดงประปราย ปากสีม่วงแดง ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน กุหลาบแดง (Aerides crassifolia) เป็นกล้วยไม้ที่มีลักษณะสวยงาม มีใบสั้นแบนแต่หนา ...