ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สกุลกล้วยไม้

ในประเทศไทย นอกจากกล้วยไม้ชนิดพันธุ์ตามที่พบในธรรมชาติอย่างมากมายแล้ว ยังมีพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ มีความแปลก สวยงามเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ใหม่นี้ จะมีจำนวนมาก และไม่มีขีดจำกัด ทำให้กล้วยไม้ของไทยเป็นที่รู้จัก เป็นที่สนใจ และชื่นชอบต่อคนทั่วไป
กล้วยไม้สกุลต่างๆ ที่พบในประเทศไทยได้แก่


กล้วยไม้ (Orchid) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledoneae) ในวงศ์ Orchidaceae ที่มีดอกสวยงาม มีความหลากหลายทั้งสีสันลวดลาย ขนาด รูปทรง และกลิ่น เรียกได้ว่าเป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง มีมากกว่า 800 สกุล พบในธรรมชาติมากกว่าสองหมื่นชนิด และมีการปรับปรุงสายพันธุ์โดยการผสมข้ามชนิดข้ามสกุลมากกว่าสามหมื่นคู่ผสม ด้วยความสวยงามและความหลากหลายทำให้กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจของไทย
ที่นิยมไปทั่วโลก

แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชีย
แปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็นอาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง





http://board.trekkingthai.com/board



จากการค้นพบ ประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของกล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ใน
ภูมิภาคลาตินอเมริกา

กล้วยไม้เป็นพืชที่มีส่วนต่างๆ สมบูรณ์ คือ มี ราก ต้น ใบ ดอก และผล รากของกล้วยไม้ไม่มีรากแก้ว ลำต้นไม่มีแก่นไม้ ใบจัดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีเส้นใบขนานกันตามความยาวของใบ กล้วยไม้มีระบบรากแบ่งเป็นหลายชนิด เช่น รากดิน รากกึ่งดิน รากกึ่งอากาศ และรากอากาศ มีรายละเอียดของส่วนต่าง ๆ ดังนี้



จำแนกตามลักษณะราก
เป็นการจำแนกตามลักษณะรากหรือตามระบบรากของกล้วยไม้
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow







ระบบรากดิน


จัดเป็นกล้วยไม้ที่มีระบบรากเกิดจากหัวที่อวบน้ำอยู่ใต้ดิน ตัวรากจะมีน้ำมาก เช่นกล้วยไม้สกุลนางอั้ว กล้วยไม้ประเภทนี้พบมากบริเวณพื้นที่ที่มีสภาพอากาศในฤดูกาลที่ชัดเจน เช่น ฤดูฝนมีฝนตกชุก และมีฤดูแล้ง เมื่อถึงฤดูฝน หัวจะแตกหน่อ ใบอ่อนจะชูพ้นขึ้นมาบนผิวดิน และออกดอกในตอนปลายฤดูฝน เมื่อพ้นฤดูฝนไปแล้วใบก็จะทรุดโทรมและแห้งไป คงเหลือแต่หัวที่อวบน้ำและมีอาหารสะสมฝังอยู่ใต้ดินสามารถทนความแห้งแล้งได้








ระบบรากกึ่งดิน


มีรากซึ่งมีลักษณะอวบน้ำใหญ่หยาบและแตกแขนงแผ่กระจายอย่างหนาแน่นสามารถเก็บสะสมน้ำได้ดีพอสมควร กล้วยไม้ประเภทนี้พบอยู่ตามอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อยผุพังร่วนโปร่ง กล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งดิน ได้แก่ กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี สกุลสแปทโธกลอตติส (Spathoglottis)  สกุลเอื้องพร้าว เป็นต้น








ระบบรากกึ่งอากาศ


เป็นระบบรากที่มีเซลล์ผิวของรากมีชั้นเซลล์ที่หนา และมีลักษณะคล้ายฟองน้ำผิวนอกเกลี้ยงไม่มีขน มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ เก็บและดูดน้ำได้มาก สามารถนำน้ำไปใช้ตามเซลล์ผิวได้ตลอดความยาวของราก ระบบรากกึ่งอากาศมักมีรากแขนงใหญ่หยาบอยู่กันอย่างหนาแน่นไม่มีรากขนอ่อน รากมีขนาดเล็กกว่ารากอากาศ กล้วยไม้ระบบรากกึ่งอากาศได้แก่กล้วยไม้สกุลแคทลียา
สกุลออนซิเดียม
 เป็นต้น







ระบบรากอากาศ


กล้วยไม้ที่มีระบบรากเป็นรากอากาศจะมีรากขนาดใหญ่ แขนงรากหยาบ เซลล์ที่ผิวรากจะทำหน้าที่ดูดน้ำ เก็บน้ำและนำน้ำไปตามรากได้เป็นอย่างดี ทำให้สามารถทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี รากอากาศไม่ชอบอยู่ในสภาพเปียกแฉะนานเกินไป นอกจากนั้นปลายรากสดมีสีเขียวของคลอโรฟีลล์สามารถทำหน้าที่ปรุงอาหารได้เช่นเดียวกับใบเมื่อมีแสงสว่าง เพราะฉะนั้นรากประเภทนี้จึงไม่หลบแสงสว่างเหมือนรากต้นไม้ดินทั่ว ๆ ไป กล้วยไม้ที่มีระบบรากอากาศได้แก่ กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลช้าง สกุลกุหลาบ สกุลแมลงปอ สกุลเข็มและ
กล้วยไม้สกุลรีแนนเธอร่า



จำแนกตามลักษณะการเจริญเติบโตได้ 2 ประเภท คือ
http://student.nu.ac.th/samunprithai/thailandorchid/16.html


1. ประเภทแตกกอ (Sympodial) ได้แก่ กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี สกุลหวาย สกุลแคทลียา สกุลออนซิเดียม และสกุลแกรมมาโตฟิลลั่ม




http://www.siamproplants.com/forums/2122.html

กล้วยไม้ซอมเบอร์เกีย (Schomburgkia) สกุลย่อยของ แคทลียา


กล้วยไม้ประเภทนี้มีส่วนของเหง้าเจริญไปตามแนวนอนของเครื่องปลูก และที่โคนลำลูกกล้วยติดกับเหง้าจะมีตาที่สมบูรณ์ 2 ตา เมื่อลำลูกกล้วยเจริญจนสุดลำตาที่โคนตาหนึ่งจะแตกออกมาเป็นลำใหม่ ส่วนตาอีกข้างหนึ่งพักตัว ลำที่เกิดก่อนซึ่งเป็นลำที่มีอายุมากเรียกว่า ลำหลัง ส่วนลำที่แตกใหม่มีอายุน้อยกว่าเรียกว่า ลำหน้า สำหรับตาที่อยู่บนลำที่เจริญเต็มที่ก็จะเปลี่ยนเป็น ตาดอก







2. ประเภทไม่แตกกอ (Monopodial) เป็นกล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโตขึ้นไปทางส่วนยอด คือ ตาที่ยอดจะแตกใบใหม่เจริญขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนโคนต้นจะออกรากไล่ตามยอดขึ้นไป ได้แก่ กล้วยไม้ในสกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลช้าง สกุลกุหลาบ สกุลเสือโคร่ง สกุลม้าวิ่ง สกุลแมลงปอ สกุลรีแนนเธอร่าและสกุลแวนดอปซิส



สกุลกล้วยไม้
http://www.treevariety.com/Tree_flower5.html


ในประเทศไทย นอกจากกล้วยไม้ชนิดพันธุ์ตามที่พบในธรรมชาติอย่างมากมายแล้ว ยังมีพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ มีความแปลก สวยงามเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ใหม่นี้มีจำนวนมาก และไม่มีขีดจำกัด ทำให้กล้วยไม้ของไทยเป็นที่รู้จัก เป็นที่สนใจ
และชื่นชอบของคนทั่วไป



กล้วยไม้สกุลต่าง ๆ ที่พบในประเทศไทย

คลิกที่นี่




http://www.biogang.net/biodiversity



เอื้องช้างสารภี / เอื้องเจ็ดปอย / เอื้องดอกขาม / เอื้องตีนเต่า
Acampe rigida ( Buch. – Ham. ex J.J.Sm.) Hunt


กล้วยไม้สกุลอะแคมเป (Acampe) คลิกที่นี่


เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย มีการเจริญเติมโตทางยอด เป็นกล้วยไม้ที่มีขนาดใหญ่ พบขึ้นอยู่ตามป่าดิบชื้น ใบหนาเป็นแถบใหญ่ ยาว และแข็ง ใบเรียงสลับกันซ้ายขวา

ช่อดอกสั้นเป็นกระจุก แต่ดอกในช่อมีไม่มากนัก ดอกมีเนื้อแข็งและเปราะ กลีบดอกและกลีบเลี้ยงมีสีเหลือง มีลายสีแดงลายพาดขวาง ปลายกลีบงุ้ม กลีบปากมีขนาดเดียวกับกลีบดอก เส้นเกสรสั้น มีกลุ่มเกสร 2 คู่ ยึดติดกับแถบแผ่นเยื่อใส ๆ สกุล อะแคมเป พบในประเทศไทย 3 ชนิด
บางชนิดกลิ่นหอมมาก





http://www.pskorchid.com/outlet.php?info_id=81

กล้วยไม้สกุลกุหลาบ (Aerides) คลิกที่นี่





http://www.siamproplants.com/forums/2122.html

กล้วยไม้สกุลแมลงปอ (Arachnis) คลิกที่นี่





http://www.free-webboard.com/view.php?nm=thaiorchid&qid=85

กล้วยไม้สกุลเข็ม (Ascocentrum) คลิกที่นี่



กล้วยไม้สกุลเข็มเป็นกล้วยไม้ประเภท แวนด้า (Vandaceous Orchid)
กล้วยไม้สกุลเข็มปรากฏตามธรรมชาติอยู่ในประเทศไทย 4 ชนิด คือ

1. เข็มแดง (Ascocentrum curvifolium)
2. เข็มม่วง (Ascocentrum ampullaceum)
3. เข็มแสด (Ascocentrum miniatum)
4. แอสโคเซ็นตรัม เซมิเทอเรตติโฟเลียม (Ascocentrum semiteretifolium)





http://student.nu.ac.th/samunprithai/thailandorchid/9.html

กล้วยไม้สกุลสิงโต (Bulbophyllum) คลิกที่นี่





http://board.trekkingthai.com/board/show

กล้วยไม้สกุลเอื้องน้ำต้นหรือคาแลนเธ (Calanthe) คลิกที่นี่
กล้วยไม้ดิน อวบน้ำ มีหัวอยู่ในดิน





http://hilight.kapook.com/view/38397

กล้วยไม้สกุลแคทลียา (Cattleya & allied genera) คลิกที่นี่


ประกอบด้วยสกุลย่อย 8 สกุลคือ

- บราสซาโวลา (Brassavola)
- บรอว์กโทเนีย (Broughtonia)
- แคทลียา (Cattleya)
- ไดอาคริอัม (Diacrium)
- อีปิเดนดรัม (Epidendrum)
- ลีเลีย (Laelia)
- โซโพรนิติส (Sophronitis)
- ซอมเบอร์เกีย (Schomburgkia)





http://www.namaoi.com/topic.php?tid=39

กล้วยไม้สกุลเอื้องใบหมากหรือซีโลจิเน (Coelogyne) คลิกที่นี่





http://www.gotoknow.org/file/tag/cymbidium

กล้วยไม้สกุลกะเรกะร่อนหรือซิมบิเดียม (Cymbidlium) คลิกที่นี่





http://www.orchidee.ob.tc/

กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) คลิกที่นี่





http://orchidnong.blogspot.com/

กล้วยไม้สกุลม้าวิ่ง (Doritis) คลิกที่นี่



สกุลม้าวิ่งเป็นกล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินหรือแอ่งหินที่มีอินทรียวัตถุทับถมกันหนา ๆ ใบแทนสีเขียวหรืออมม่วง ช่อดอกตั้ง ก้านส่งช่อยาวประมาณ 1 - 2 ฟุต ดอกมีสีแดงอมม่วง โดยมีตั้งแต่สีซีด ๆ ไปจนถึงสีเข้ม ลักษณะการบานของดอกจะบานทยอยกันขึ้นไป คือ ก้านช่อยืดยาวออกดอกไปเรื่อย ๆดอกบนบานไป ดอกล่างก็ค่อย ๆ โรยไป แต่มีดอกติดช่อมาก พบกระจายพันธุ์อยู่ใน พม่า ไทย อินโดนิเชีย และสุมาตรา





http://www.kasetloongkim.com/modules

กล้วยไม้สกุลเพชรหึงหรือแกรมมาโตฟิลลัม (Grammatophyllum)

คลิกที่นี่





http://109orchid.blogspot.com/2010/08/blog-post_04.html

สกุลลิ้นมังกรหรือฮาบีนาเรีย (Habenaria) คลิกที่นี่





http://www.gotoknow.org/blog/kohyor/325710

สกุลออนซิเดียม (Oncidium) คลิกที่นี่





http://www.nanagarden.com

นางอั้วใหญ่ หรือ อั้วตีนกบ Pecteilis sus
กล้วยไม้สกุลนางอั้ว (Pecteilis) คลิกที่นี่






กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum) คลิกที่นี่





http://orchid1234.comyr.com/07_(Phalaenopsis)

กล้วยไม้สกุลเขากวางอ่อนหรือฟาเลนอปซิส (Phalaenopsis) คลิกที่นี่





http://www.readyorchid.com/renanthera

กล้วยไม้สกุลหวายแดงหรือรีแนนเธอร่า (Renanthera) คลิกที่นี่





http://www.bawood-lalin.ob.tc/03.jpg

กล้วยไม้สกุลช้าง (Rhynchostylis) คลิกที่นี่





http://beauty13orchids.skyrock.com/2232168525

กล้วยไม้สกุลพิศมรหรือสแปทโธกลอตติส (Spathoglottis) คลิกที่นี่





http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard

กล้วยไม้สกุลเสือโคร่ง (Trichoglottis) คลิกที่นี่





http://www.googig.com/diary.php

กล้วยไม้สกุลฟ้ามุ่ยหรือแวนด้า (Vanda) คลิกที่นี่





http://orchid1234.comyr.com/12_(Vandopsis).htm



กล้วยไม้สกุลพระยาฉัททันต์หรือแวนดอปซิส (Vandopsis) คลิกที่นี่
พระยาฉัททันต์ (Vandopsis gigantea) สกุลเดียวกับกล้วยไม้เขาพระวิหารมีขนาดต้นสูงประมาณ 1 ม. ในกว้าง 7 ซม. ยาว 35 ซม. ออกดอกเป็นช่อโค้งลง 35 ซม. มีดอกประมาณ 7-15 ดอก แต่ละดอกกว้าง 7 ซม.



การปลูกกล้วยไม้ คลิกที่นี่ 

เครื่องปลูก


ควรใส่กาบมะพร้าวน้อย ๆ รองพื้นกระถาง/กระเช้า แล้วใส่ถ่าน/อิฐ นิดหน่อย แค่นี้กล้วยไม้ป่าของเราก็ไม่เน่า แต่ถ้าเป็น กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี ควรใช้เครื่องปลูกที่มีรูระบายอากาศได้ดี เช่น กระถางอิฐ และรองก้นกระถางด้วยถ่าน/อิฐ และใส่หินภูเขา (ของแท้ต้องลอยน้ำได้ จำไม่ผิดใส่ถุงใส สกรีนสีเหลืองมีรูปกล้วยไม้) เป็นเครื่องปลูก (ถุงประมาณ 45-60 บาท)



การขยายพันธุ์กล้วยไม้ คลิกที่นี่
http://sites.google.com/site/rapeesagarik









ผลที่เกิดจากการผสมเกสร ดอกที่ผสมแล้วภายใน 24 ช.ม. จะเหี่ยว เพราะมีการผลิตแก๊ส
เอธทีลีนขึ้นมา (ดอกที่ยังไม่ได้ผสมเกสรสามารถบานได้เป็นสัปดาห์) รังไข่ที่ก้นดอกจะป่องออกมา กลายเป็นผล หรือ ฝัก ที่มีเมล็ดอยู่ข้างในนั่นเอง



การใส่ปุ๋ยกล้วยไม้ คลิกที่นี่
โรคและแมลงศัตรูกล้วยไม้ คลิกที่นี่


ก่อนอื่นต้องศึกษาเกี่ยวกับกล้วยไม้ชนิดนั้นเสียก่อนว่า (ชื่ออะไร | อยู่ในสกุล อะไร | ออกดอกช่วงไหน | ชอบความชื้นหรือไม่) แค่นี้เราก็จะสามารถปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ป่าให้ออกดอกตามฤดูกาลได้แล้ว เท่าที่สังเกตดูพวกกล้วยไม้ป่าไม่ค่อยชอบกาบมะพร้าวสักเท่าไหร่ คงเพราะไม่โปร่งเท่าการใช้ ถ่าน อิฐหัก และโฟม เป็นวัสดุปลูกผสมกันไป ตัวอยาง เช่น


ลำดับ ชื่อพันธุ์ ชื่อสกุล ออกดอก ความชื้น หมายเหตุ
-----------------------------------------------------------------------

1. ช้างกระ ช้าง ธ.ค.-ก.พ. ปานกลาง ควรบำรุงปุ๋ยด้วยเกล็ดละลายเพื่อบำรุงต้นใบหลังจากออกดอกไปแล้ว และควรหยุดรดน้ำ 3 เดือนก่อนเดือนธันวาคม (อายุมากกว่า 1 ปี ขึ้นไป)
2. ช้างแดง ช้างพลาย ช้างประหลาด ช้างเผือก เหมือนกันกับ ช้างกระ
3. เอื้องคำ หวาย กุมภาพันธ์ น้อย ควรรดน้ำและให้ปุ๋ยละลายน้ำอาทิตย์ละครั้ง ก่อน 10 โมงเช้า
4. พวกเอื้องต่าง ๆ ทำเหมือนกันกับเอื้องคำ

ปุ๋ยฮอร์โมน --- ทุ่งเศรษฐี เบอร์ 12 สีเขียว ราคา 50-55 บาท ที่สวนจตุจักร 1ช้อนชา/น้ำ1ลิตร
ธาตุอาหาร -- ออร์คิด พลัส ราคา 35-40 บาท ตามร้านขายต้นไม้ทั่วไป 1 ช้อนชา/น้ำ 1 ลิตร
ปุ๋ยชีวภาพ -- ไม่แนะนำให้ใช้ เพราะปุ๋ยชนิดนี้อาจไปทำลายเชื้อราบางอย่าง



เลือกกระถางให้เหมาะกับกล้วยไม้




http://www.rakbankerd.com/kaset/openweb



ภาชนะหมายเลข 1. ใช้ปลูก หวาย แคทลียา และกล้วยไม้ที่ต้องการเครื่องปลูก
มีตั้งแต่ขนาด 1-6 นิ้ว
ภาชนะหมายเลข 2. ใช้ปลูก แวนด้า กล้วยไม้สกุลแมลงปอ เป็นกระถางขนาดใหญ่
ภาชนะหมายเลข 3. ใช้ ปลูกแวนด้า หรือกล้วยไม้ที่เป็นกอ มีตั้งแต่ขนาด 2.5 นิ้ว ขึ้นไป
ภาชนะหมายเลข 4. กระเช้าไม้สัก ใช้ปลูก แวนด้า ช้าง เข็ม พวกรากอากาศที่มีรากใหญ่



เครื่องปลูกของกล้วยไม้ คลิกที่นี่


วัสดุที่ใส่ลงไปในภาชนะที่ใช้ปลูกกล้วยไม้ เป็นที่เก็บอาหาร เก็บความชื้น หรือปุ๋ยของกล้วยไม้ และเพื่อให้รากของกล้วยไม้เกาะ ลำต้นจะได้ตั้งอยู่ได้ เครื่องปลูกที่เหมาะสมกับลักษณะการเจริญเติบโตของรากกล้วยไม้จะทำให้กล้วยไม้เจริญเติบโตได้ดีและแข็งแรง เครื่องปลูกที่นิยมใช้มีดังนี้





http://www.meeboard.com/view.asp?user=lingee&groupid


ออสมันด้า

เป็นเครื่องปลูกที่ได้มาจากรากของเฟิร์น ลักษณะเป็นเส้นยาว สีน้ำตาลจนเกือบดำ ค่อนข้างแข็ง ก่อนที่จะใช้ต้องล้างให้สะอาด แล้วจึงอัดตามยาวลงไปในกระถาง ก่อนที่จะอัดลงในกระถางควรรองก้นกระถางด้วยกระเบื้องแตกหรือถ่านประมาณครึ่งหนึ่งของกระถาง เพื่อให้ระบายน้ำได้สะดวกไม่ควรอัดออสมันด้าให้เต็มกระถาง ก่อนใช้ควรแช่น้ำหรือต้มเพื่อฆ่าเชื้อราเสียก่อน ออสมันด้าเป็นเครื่องปลูกที่ดี แต่ราคาค่อนข้างสูง สามารถเลี้ยงกล้วยไม้ได้เจริญงอกงามสม่ำเสมอ มีอายุการใช้งาน 2–3 ปี แต่มีข้อเสีย คือ มีตะไคร่น้ำขึ้นหน้าเครื่องปลูก และเกิดเชื้อราง่าย ออสมันด้าใช้ปลูกกล้วยไม้แบบรากกึ่งอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลแคทลียา





http://dooflower.blogspot.com/2011/02/planting-orchids.html

เครื่องปลูก กาบมะพร้าว


กาบมะพร้าว


เป็นเครื่องปลูกที่นิยมใช้ปลูกกล้วยไม้มาก เพราะหาง่าย ราคาถูก เหมาะที่จะใช้อัดลงในกระถางดินเผาสำหรับใช้ปลูกกล้วยไม้รากกึ่งอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลแคทลียา วิธีทำคือใช้กาบมะพร้าวแห้งที่แก่จัดและมีเปลือก อัดตามยาวให้แน่นลงในกระถาง ตัดหน้าให้เรียบ แล้วใช้แปรงลวดปัดหน้าให้เป็นขน เพื่อให้ดูดซับน้ำดีขึ้น





http://www.rakbankerd.com/agriculture



เครื่องปลูกกาบมะพร้าวเป็นเครื่องปลูกที่ได้ความชื้นสูง เหมาะสำหรับกล้วยไม้ปลูกใหม่ เพราะจะทำให้ตั้งตัวเร็ว จึงทำให้กล้วยไม้เจริญงอกงามเร็วกว่าปลูกด้วยเครื่องปลูกชนิดอื่น ๆ แต่มีข้อเสียคือมีอายุการใช้งานได้ไม่นาน คือมีอายุใช้งานได้เพียงปีเดียวเครื่องปลูกก็ผุ ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งคือเกิดตะไคร่น้ำได้ง่าย เนื่องจากกาบมะพร้าวอมความชื้นไว้ได้มาก จึงควรรดน้ำให้น้อยกว่าเครื่องปลูกชนิดอื่น





http://www.sobhaflowers.com/Hot%20topics/Charcoal.html

ถ่านปลูกกล้วยไม้


ถ่าน
http://tanakron.212คาเฟ่.com/archive/2008-04-09/1015-5-3/

ถ่านที่เหมาะที่จะทำเป็นวัสดุปลูก ได้มาจากไม้มะขาม มะขามเทศ ไม้สน หรือยางพารา เป็นต้น ขี้เถ้าถ่านที่เกิดจากการเผาไหม้มีความเค็มอยู่ เมื่อใดรากชอนไชเข้าไปจนถึงถ่านที่มีความเค็ม รากที่มีความบอบบางเมื่อเจอความเค็มของถ่านก็จะไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้และค่อย ๆ เน่ากุดไปเรื่อย ๆ เปรียบได้กับคนปากเจ็บ หากินอะไรก็ไม่สะดวก ต้องเสียเงินซื้ออาหารเสริม ฮอร์โมน และปุ๋ยต่างๆ หรือให้น้ำมาก ๆ เพราะคิดว่าความชื้นไม่พอ คราวนี้ก็จะมาเจอปัญหาซ้ำคือยอดเน่าเนื่องจากให้น้ำมากเกินไป

ดังนั้นเราจึงควรนำถ่านที่ได้มาเตรียมพร้อมก่อนนำไปใช้ โดยการ แช่น้ำ เป็นไปได้ควรแช่น้ำอย่างน้อย 10-15 วัน ถ่ายน้ำทิ้งทุก ๆ 5 วัน แช่ยิ่งนานยิ่งดี

โดยคุณสมบัติของถ่านถือว่าเป็นวัสดุที่อมความชื้นและสะสมความชื้นได้ดี และมีความเย็นในตัว ในความเป็นจริงกล้วยไม้รากอากาศ ไม่จำเป็นต้องมีวัสดุปลูกก็สามารถเจริญเติบโตได้ ในระบบการให้น้ำที่ดีพอ





http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=70297.960

กล้วยไม้รองเท้านารี ปลูกด้วย หินภูเขาไฟ





http://www.orchidgeeks.com/forum/orchid-potting



ทรายหยาบและหินเกล็ด


การปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งอากาศโดยเฉพาะพวก สกุลหวาย มักใช้ทรายหยาบและหินเกล็ดที่ล้างสะอาดแล้วเป็นเครื่องปลูก โดยก้นกระถางใส่อิฐหักหรือหรือถ่านป่นไว้ ส่วนด้านบนใช้ทรายหยาบโรยหนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วโรยทับด้วยหินเกล็ดหนาประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นจึงนำหน่อกล้วยไม้ที่แยกจากกอเดิมไปปลูกวางไว้บนหินเกล็ด แล้วมัดติดกับหลักเพื่อยึดไม่ให้ล้มจนกว่ากล้วยไม้ที่ปลูกใหม่นี้มีรากยึดเครื่องปลูกและตั้งตัวได้





http://www.gotoknow.org/blog/orchid145/280243



อิฐหักและกระถางดินเผาแตก



อิฐหัก อิฐดินเผา และกระถางดินเผาแตก ใช้เป็นเครื่องปลูกรองก้นกระถางสำหรับปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งอากาศ โดยมีออสมันด้า กาบมะพร้าว ถ่านป่น อย่างใดอย่างหนึ่งอัดหรือโรยไว้ข้างบน
เพื่อให้ด้านล่างของกระถางหรือภาชนะปลูกโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวกและเป็นการช่วยในการ
ระบายน้ำในกระถางได้ดีขึ้น



การให้น้ำและปุ๋ย คลิกที่นี่




http://onepiece.igetweb.com/index.php?mo=3&art=428930



การให้ปุ๋ยกล้วยไม้
http://www.212คาเฟ่.com/freewebboard/view.php?user=dathnavamin&id=120


การให้ปุ๋ยเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเลี้ยงกล้วยไม้ ธาตุอาหารหลักที่กล้วยไม้ต้องการก็เหมือนกับพืชทั่วไป คือ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และ โปตัสเซียม (K) โดยปุ๋ยที่เหมาะกับกล้วยไม้ คือ ปุ๋ยสูตรสูง (มีธาตุอาหารรวมกันมากกว่า 50% ของน้ำหนักปุ๋ย) ชนิดที่ละลายน้ำได้ เช่น ปุ๋ยสูตร 21-21-21 เป็นต้น โดยกล้วยไม้แต่ละประเภท และแต่ละช่วงอายุ ต้องการปริมาณปุ๋ยแตกต่างกันไป ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำการใช้ปุ๋ยสูตรต่าง ๆ

ปุ๋ยสูตรสมดุล เช่น 21-21-21 เหมาะกับกล้วยไม้ที่เจริญเติบโตตามปกติ
ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุ N สูง เช่น 30-10-10 เหมาะกับกล้วยไม้ขนาดเล็ก
ที่ต้องการเร่งการเจริญเติบโตทางใบ
ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุ P สูง เช่น 10-30-10 เหมาะกับกล้วยไม้ที่โตเต็มที่แล้ว
ต้องการเร่งให้ออกดอก หรือเร่งราก
ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุ K สูง เช่น 10-10-30 เหมาะกับกล้วยไม้ที่กำลังเจริญเติบโต
เพราะธาตุโปตัสเซียมจะช่วยให้ต้นแข็งแรง








วิธีการให้ปุ๋ย


ละลายปุ๋ยในน้ำตามอัตราส่วนที่ระบุไว้ในฉลากปุ๋ย แล้วใช้ไม้คนให้ปุ๋ยละลายให้หมด อย่าให้ปุ๋ยตกตะกอน เพราะอาจเป็นอันตรายต่อใบ รดน้ำกล้วยไม้ให้ชุ่มก่อนฉีดปุ๋ย เพื่อให้ปุ๋ยซึมลงในเครื่องปลูกได้ดียิ่งขึ้น จากนั้น ใช้หัวฉีดที่ฝอยที่สุด ฉีดปุ๋ยให้เปียกทั่วทั้งรากและใบ จะรดปุ๋ยมากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นกับว่ากล้วยไม้ต้นใหญ่แค่ไหน ถ้าต้นใหญ่ก็ต้องการปุ๋ยมาก ต้นเล็กก็ต้องการปุ๋ยน้อย ถ้าไม่แน่ใจให้รดน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ ไว้จะดีกว่า

ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การให้ปุ๋ยพืช คือ ช่วงเช้าก่อนแดดจัด เพราะรากและใบจะได้ดูดปุ๋ยไปใช้ได้เลย ควรรดปุ๋ยทุก 7 วัน สำหรับลูกกล้วยไม้ควรผสมปุ๋ยให้เจือจางลง แล้วรดปุ๋ย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ จะทำให้กล้วยไม้เจริญเติบโตเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การให้ปุ๋ยควรพิจารณาถึงวัฏจักรการเจริญเติบโตของกล้วยไม้แต่ละชนิดด้วย





http://share.psu.ac.th/blog/dent-psu/10056



กล้วยไม้ที่ออกดอกตามฤดูกาลปีละครั้ง เช่น กล้วยไม้ป่า หรือกล้วยไม้ลูกผสมบางชนิด เกือบทั้งปีจะมีการเจริญเติบโตทางต้นและใบ ควรให้ปุ๋ยสูตรเสมอในช่วงนี้ ต่อเมื่อใกล้ถึงฤดูที่กล้วยไม้จะ
ผลิช่อดอก จึงเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยสูตรเร่งดอกแทน

เอื้องกุหลาบและเข็ม จะเติบโตในช่วงฤดูฝน พักตัวและพัฒนาตาดอกในฤดูหนาว
ผลิช่อดอกและบานในฤดูร้อน





สกุลช้าง (Rhynchostylis)
ap.mju.ac.th



กล้วยไม้ช้าง เติบโตทางใบในฤดูร้อนและฝน สร้างตาดอกในช่วงปลายฤดูฝน
ดอกบานในช่วงเดือน ธ.ค.-ก.พ.

กล้วยไม้ที่ออกดอกตลอดปี เช่น กล้วยไม้ลูกผสมที่ปลูกเพื่อตัดดอก อาทิ หวาย แวนด้า
ออนซิเดียม
 กล้วยไม้เหล่านี้ต้องการปุ๋ยมากถ้าได้รับปุ๋ยไม่พอ ต้นจะไม่สมบูรณ์
ทำให้ออกดอกน้อยลง





http://www.orchidinbox.com/webboard_228524



กล้วยไม้เป็นพืชที่ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดีเยี่ยมและสามารถมีชีวิตร่วมกับสิ่งที่มีชีวิตอื่น ๆ ในหลายสภาพด้วยกัน กล้วยไม้ส่วนใหญ่เจริญเติบโตบนต้นไม้อื่น แต่ไม่ได้ดูดอาหารหรือทำความเดือดร้อนแก่พืชที่มันเกาะอาศัย (host) เพียงแต่อาศัยต้นไม้อื่นเป็นที่ค้ำจุนเท่านั้น ในทางนิเวศวิทยา เรียกพืชประเภทนี้ว่า epiphyte








บางชนิดก็มีชีวิตอยู่อย่างอิสระบนดิน ได้แก่ พวกกล้วยไม้ดินทั้งหลาย
เรียกพืชประเภทนี้ว่า Terrestrial


บางชนิดมีความสามารถพิเศษที่เจริญเติบโตอยู่ได้บนก้อนหินหรือตามชง่อนผา
เรียกพืชประเภทนี้ว่า Lithophyte





http://www.tourtamoan.com/modules



"สิงโต" คือ กล้วยไม้ Bulbophyllum spp. เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย หรือขึ้นตามก้อนหิน (lithophyte) เจริญเติบโตแบบแตกกอ เหง้า (rhizome) เลื้อย ลำลูกกล้วยอยู่ชิดกัน หรือกระจายห่าง ๆ แต่ละลำมี 1 ข้อ ลำลูกกล้วยมีใบ 1-2 ใบ เกิดที่ปลายยอด ช่อดอกเกิดจากตาข้างใกล้ฐาน
ของลำลูกกล้วย





http://www.benorchid.com/webboard/answer.php?id=1339


กล้วยไม้กินซาก (saprophyte) พบบริเวณทางขึ้นน้ำตกที่กรุงชิง จังหวัดนครศรีธรรมราช


กล้วยไม้ไม่กี่ชนิดที่มีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องมีใบที่มีสีเขียว ซึ่งผิดกับพืชอื่น ๆ ทั่วไปที่ต้องหาอาหารเองโดยวิธีการที่เรียกว่าสังเคราะห์แสง (photosynthesis) กล้วยไม้พวกนี้ดูดอาหารจากอินทรียวัตถุอื่น ๆ อันได้แก่ ซากพืชและซากสัตว์ เราเรียกพืชพวกนี้ว่าSaprophyte

ยังไม่มีผู้ใดค้นพบกล้วยไม้ที่เป็นกาฝากหรือปาราสิต (parasite) ซึ่งดูดอาหาร
โดยตรงจากพืชที่ยังมีชีวิตอยู่

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กล้วยไม้สกุลแคทรียา

คัทลียา                           :             Cattleya                                            ชื่อวิทยาศาสตร์            :             Cattleya hybrids.                                       วงค์                     ...

กล้วยไม้สกุลกุหลาบ

กุหลาบอินทจักร (Aerides flabellata) ลักษณะใบเรียงตัวซ้อนกันค่อนข้างแน่น แผ่นใบหนาและเหนียว ผิวใบแห้ง กุหลาบอินทจักรเป็นเอื้องกุหลาบช่อตั้ง ดอกในช่อโปร่ง มีเดืือยดอกยาวเห็นได้ชัดและโค้งงอนสวยงาม กลีบเลี้ยง และกลีบดอกมีสีเขียวอมเหลืองและมีแต้มสีน้ำตาลอมม่วง ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม กุหลาบพวงชมพู (Aerides krabiensis) หรือกุหลาบกระบี่ พบครั้งแรกที่จังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง รวมไปถึงเกาะต่างๆ ทางภาคใต้ของไทย ต้นค่อนข้างผอมมักแตกเป็นกอ แผ่นใบเล็กค่อนข้างหนาและเรียงซ้อนกันถี่ ผิวใบมักจะมีจุดประสีม่วงแดง ช่อปลายปากกว้างมน ดอกมีพื้นขาว มีจุดประสีม่วงแดง หรือชมพูเข้ม กลางแผ่นปากมีสีแดงเข้มคล้ายกุหลาบมาลัยแดง ออกดอกระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม กุหลาบเอราวัณหรือกุหลาบน่าน (Aerides rosea ชื่อพ้อง Aerides fieldingii) ลักษณะดอกคล้ายมาลัยแดงมาก ช่อดอกมีก้านส่งแข็ง แต่ส่วนช่อที่ติดดอกจะโค้งห้อยลง กลีบดอกสีขาว มีแต้มสีม่วงแดง ที่ปลายกลีบมีจุดสีม่วงแดงประปราย ปากสีม่วงแดง ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน กุหลาบแดง (Aerides crassifolia) เป็นกล้วยไม้ที่มีลักษณะสวยงาม มีใบสั้นแบนแต่หนา ...